คนไทยจะได้ดื่มชาเขียวญี่ปุุ่นแท้ที่ผลิตในไทย จากแบรนด์ชาชั้นนำจากญี่ปุ่น มารุเซ็น
ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ Japanese green tea ของมารุเซ็น จากบล็อกที่แล้วทำให้ได้ทราบวิธีการตัดเก็บและขั้นตอนการผลิตชาอย่างมีคุณภาพสูง และพอจะทราบกันแล้วว่ามัทฉะคืออะไร จากที่คนญี่ปุ่นดื่มชาเขียว ด้วยความต้องการที่จะลดความเครียด ผ่อนคลาย เค้าจึงให้ความสำคัญกับรสชาติแท้ๆ ที่มีคุณภาพมาก พร้อมเหตุผลการมาเลือกชาไทยที่ไร่บุญรอดของมารุเซ็น และเป็นครั้งแรกที่เปิดโรงงานให้คนนอกเข้าเยี่ยมชม โดยความเอื้อเฟื้อของคุณ ตราชู กาญจนสถิตย์ เป็นเกียรติอย่างยิ่งและต้องขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ตัวเล็กๆ ได้มีประสบการณ์ดีๆ แบบนี้ ส่วนตัวรู้สึกชื่นชมคุณภาพชาของคนไทย บริษัทไทย และรักเมืองไทยมากขึ้นเพราะความดูแลเอาใจใส่ชาและรักษาอย่างคุณภาพจนญี่ปุ่นยอมรับได้นี่ไม่ธรรมดาเลยค่ะ
ชาต้นเดียวกัน แค่ยอดอ่อนๆ จากไร่ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ก็สามารถแยกประเภทของชาได้เยอะเลยทีเดียวค่ะ สิ่งที่ทำให้ชาแต่ละชนิดแตกต่างกันเป็นอย่างมากคือ กระบวนการหมักที่ทำให้เกิดปฎิกิริยา Oxidation ของเอนไซม์ ชาแต่ละประเภทนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของชาที่นำมาผลิตเลยนะ แต่ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตให้เป็นชาสำเร็จรูปต่างหาก เป็นความมหัศจรรย์มากที่ได้ทราบความรู้เรื่องนี้
ทราบมาว่าชาเขียวญี่ปุ่นแท้ที่มารุเซ็นทำการผลิตในไทยเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออก จะมีสูตรออริจินัล สูตรเข้มข้นพิเศษและสูตรชาเขียวผสมข้าวกล้องทองญี่ปุ่นคั่ว ซึ่งมี 3 กลุ่ม คือ เซนฉะ Sencha, เกนไมฉะ ชาผสมข้าวคั่ว Genmaicha และมัทฉะ ชาเขียวผง (Green Tea Powder)
1. ผลิตภัณฑ์กลุ่มเกนไมฉะ Genmaicha (玄米茶) คือ เซนชะหรือบันชะ เป็นชาที่ผสมกับข้าวกล้องคั่วหรือข้าวขาวที่นำไปอบไอน้ำ แล้วทำให้แห้ง คั่วจนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือเกือบไหม้ เกนไมฉะมีจุดเด่นอยู่ที่ความหอมของกลิ่นข้าวคั่ว น้ำชามีสีเหลืองเขียว จะเป็นกลุ่มชาเขียวซอง
2. ผลิตภัณฑ์กลุ่มเซนฉะ Sencha (煎茶) แบบใบๆ ดื่มกับน้ำ คือชาเขียวที่ได้จากการนำใบอ่อนที่เด็ดจากต้นชาใหม่ๆ ผ่านกระบวนการอบไอน้ำ 30-40 วินาที แล้วนวดให้แห้ง ได้น้ำชาจะมีสีเขียวอ่อนสวย กว่า 70% ของชาที่ผลิตได้เป็นเซนฉะ ชาประเภทนี้จะนำมาผลิตเป็นชาเขียวให้คนญี่ปุ่นใช้ดื่มในชีวิตประจำวัน เป็นใบชาที่สามารถโดนแดดได้อย่างเต็มที่จนถึงเวลาเก็บเกี่ยว จากนั้นจะนำใบชาไปอบไอน้ำอย่างเร็วไว เพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของเอนไซม์ เพราะจะทำให้คงสภาพสีและกลิ่นของของชาเอาไว้ได้ จะเป็นกลุ่มชาเขียวใบ
3. ผลิตภัณฑ์กลุ่มมัทฉะ Matcha ชาเขียวผง Green Tea Powder (抹茶) ชาเขียวใบอ่อน ผลิตด้วยกรรมวิธีพิเศษ แล้วนำมาอบแห้งด้วยไอน้ำแล้วบดด้วยโม่หินจนละเอียดเป็นผง แล้วเอามาละลายน้ำดื่ม ไม่มีส่วนไหนทิ้งไป แบบผงๆ ที่เรามักเห็นเป็นสีเขียวเข้ม มักจะนำไปใช้ในพิธีชงชาสไตล์ญี่ปุ่น จะเป็นกลุ่มชาเขียวผง
หวังว่าเวลาทานชาที่ญี่ปุ่น พอจะแยกออกแล้วนะคะ ว่าได้ทานประเภทไหนไป ซึ่งชาในปัจจุบัน จะทำมาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบ ซอง, ใบ, มัทฉะ และ ขวด ซึ่งสะดวกต่อผู้บริโภคในการดื่มมากขึ้น เมื่อดื่มมากขึ้นก็ทำให้มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น เกษตรกรก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยค่ะ
ปริมาณที่ผลิตได้ของชาเขียวเพื่อมาผลิตชาเขียวญี่ปุ่นแท้ที่ปลูกที่ไร่บุญรอดในประเทศไทยและจะส่งออกไปทั่วโลก ใม่ว่าจะเป็นเซนฉะ Sencha, เกนไมฉะ ชาผสมข้าวคั่ว Genmaicha และแบบมัทฉะ Matcha ของมารุเซ็น มีคำของเค้าที่ป้ายในสวนของโรงงานว่า จะผลิตชาเขียวคุณภาพดีที่สุด เอาใบชาของไทยผลิตและส่งออกไปสู่ตลาดโลก ชาที่ดีมีคุณภาพดูที่ยี่ห้อและคุณภาพการผลิต แต่ทั้งหมดนี้ยังไม่มีการวางขายที่ไทยเลยนะคะ ทำการผลิตเพื่อส่งออกไปทั่วโลกเท่านั้นค่ะ ดีใจนะที่ชาไทยส่งออกทั่วโลก แต่ก็ยังแอบคิดเลยค่ะว่าชาเขียวญี่ปุ่นแท้ ดีๆ แบบนี้ จะผลิตและวางขายให้คนไทยได้ทานชาดีมีคุณภาพได้เมื่อไหร่ แต่คิดว่าไม่นานเกินรอค่ะ