คนไทยกลุ่มแรกที่ไปปั่นระดับโลก PBP Paris-Brest-Paris ที่ฝรั่งเศส
PBP Paris-Brest-Paris ครั้งที่ 18 แรลลี่จักรยานทางไกลระดับโลก นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกของประเทศไทยที่กลุ่มคนไทยกลุ่มนี้ได้เข้าร่วมการปั่นระดับโลก 1,200 กิโลเมตรที่ฝรั่งเศส ตามโครงการสานฝัน นำผืนธงไตรรงค์ สู่เส้นทาง PBP 2015 ไปแข่งระหว่างวันที่ 16-20 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากเครื่องดื่มเกลือแร่ซันโว โดยสิงห์ คอร์เปอเรชั่น เป็นสปอนเซอร์ในการแข่งครั้งนี้ด้วย แม้การแข่งขันจะจบลงไปแล้วแต่นักกีฬาคนไทยกลุ่มแรกที่ไปปั่นระดับโลกขอกลับมาเล่าประสบการณ์ดีๆ มาให้นักปั่นรุ่นใหม่ฟังเพื่อวางแผนการแข่งขันรายการถัดไป
PBP คืออะไร ?
คือรายการแข่ง Paris-Brest-Paris เป็นลีกการปั่นจักรยานที่เก่าแก่มากอันนึงของโลก มีมากว่า 140 ปีแล้ว จัดทุกๆ 4 ปี ที่ประเทศฝรั่งเศส เหมือนเป็นกีฬาโอลิมปิกของการปั่นจักรยานทางไกลระยะทาง 1,200 กม. ภายใน 90 ชั่วโมง เป็นความฝันของนักปั่นทางไกลทุกคนเลยก็ว่าได้ เพราะมีคนสมัครร่วมหมี่น
และโอกาสดีมากที่ได้สัมภาษณ์แบบเจอตัวจริงเสียงจริงสุด Exclusive Interview กับ 11 นักปั่นไทย นำทีมโดยคุณลุงบ็อบ นายเกตุ วรกำธร หรือ Bob Usher นักปั่นจักรยานอาวุโสอายุ 85 ชาวอังกฤษ ผู้นำกีฬาจักรยานทางไกลเข้ามาสู่ประเทศไทย และคุณวิภาดา กิรานุชิตพงศ์ (คุณจือ) ผู้ดูแลนักกีฬาไทย ไทยส่งนักกีฬาไปทั้งหมด 43 คน แต่ผ่านเกณฑ์ 15 คน ด้วยสภาพภูมิอากาศ ความลาดชันของเส้นทาง อาหารการกิน แม้จะผ่านเกณฑ์ไม่มาก แต่จัดเป็นประสบการณ์ล้ำค่ามากสำหรับครั้งแรกของคนไทยหัวใจสิงห์ที่ได้ไปถึงระดับนี้ แถมจุดประกายให้นักปั่นรุ่นถัดไปด้วย
รายชื่อนักกีฬาคนไทยชุดประวัติศาสตร์ที่ผ่านเส้นทางปั่นจักรยาน 1,200 กม. ที่ฝรั่งเศสทั้ง 15 คน
E032 นายสิริกร ปุณณประดับกิจ 68.39 Hrs.
L035 นายวิเชียร์ งามแสง 68.49 Hrs.
E093 นายนพดล ปานอุดมลักษณ์ 76.53 Hrs.
K205 นายศิริชัย อติวัฒนานนท์ 77.29 Hrs.
L225 นางสาวสุกัญญา สุวรรณนาคะ 81.48 Hrs.
R043 นายณัฐภพ กิจวัฒนกุล 83.46 Hrs.
L222 นายวินัย ทรรทรานนท์ 86.15 Hrs.
L168 นายเกรียงศักดิ์ กลิ่นนิ่มนวล 86.43 Hrs.
L227 นางสาวยุพิน ศิริสวัสดิ์ 87.40 Hrs.
L036 นายธงชัย พิศาภาค 87.54 Hrs.
L182 นอ. ณรงค์ วัฒนะเสน 88.05 Hrs.
G184 นายเอกสิทธิ์ สุฉันทบุตร 88.54 Hrs.
L136 นายสุมิตร สุโขทัยวาณิช 89.27 Hrs.
L224 นายประดิษฐ์ พยุงวงศ์ 89.50 Hrs.
L226 นายประสิทธิ์ นิลรัตโนทัย 90.50 Hrs.
เส้นทางปั่นจากปารีส-แบร็สต์-ปารีส (ฝรั่งเศส: Paris-Brest-Paris (PBP) หรือ Paris-Brest et retour)
เริ่มจาก Paris ผ่านไป Mortagne → Villaines → Fougeres → Tinteniac → Loudeac → Carhaix Brest ระยะทางปั่น 600 กม. แล้วย้อนกลับมายัง Paris อีก 600 กม. มีจุด checkpoint ให้นักกีฬาได้ stamp บัตรและพักได้ แม้ทั้งหมดจะเป็นระยะทางไกลและส่วนมากเป็นทางชันด้วยเนินเขา แต่ก็มีความงดงามตามธรรมชาติของบ้านเมืองและมิตรภาพที่ดีจากชาวฝรั่งเศสและเสียงเชียร์ Bravo !!! จากกองเชียร์ตลอดเส้นทางด้วย
การแข่ง จะมีมีความยาก 3 ระดับ 80 ชั่วโมง, 84 ชั่วโมง, 90 ชั่วโมง
– 80 ชม. สำหรับนักกีฬาที่ต้องการทำสถิติ มั่นใจในพละกำลัง กลุ่มนี้มีผ่าน 2 ท่านคือ คุณกรและคุณกบ
– 84 ชม. สำหรับคนที่เคยปั่น PBP แล้ว นักกีฬาจะน้อย ไม่ต้องรอคิวนานที่ checkpoint แต่ไม่มีนักกีฬาไทยลงสมัคร
– 90 ชม. สำหรับมือใหม่ ซึ่งส่วนมากนักกีฬาไทยจะลงระดับนี้กัน
ก่อนที่จะไปแข่งขันที่ PBP Paris-Brest-Paris Randonneur 2015 ต้องผ่านการคัดเลือกอย่างไรบ้าง ?
ต้องผ่านการคัดเลือก สะสมสถิติ นักปั่นที่มีคุณสมบัติในระดับ Super Randonneurs ที่ได้รับการรองรับโดย Audax Randonneurs Thailand คือมีผลการทดสอบระยะทางจากสนามจริงที่ขึ้นทะเบียนกับ APC ในทุกระยะและเวลาที่กำหนด คือ 200, 300, 400 และ 600 กิโลเมตร ภายในปีเดียวกัน ของไทยต้องผ่าน 600 กิโลเมตร
ตามกรอบเวลากำหนดในการขี่ (แข่ง) คือ
— 200 กม. ไม่เกิน 13 ชั่วโมงครึ่ง
— 300 กม. ไม่เกิน 20 ชั่วโมง
— 400 กม. ไม่เกิน 27 ชั่วโมง
— 600 กม. ไม่เกิน 40 ชั่วโมง
ต้องเตรียมวางแผนการปั่นอย่างไรบ้าง ?
ขอสรุปรวม จากนักกีฬาทั้งหมด เนื่องจากเป็นการขี่แบบกึ่งพึ่งตนเอง เป็นการขี่แบบไม่จำกัดรูปแบบ ใครจะใช้เสือภูเขา รถ Tandem รถนอน เสือหมอบ รถพับ ขี่เดี่ยว ขี่กลุ่ม ได้หมด อันดับแรกต้อง วางแผนตั้งแต่การซ้อมปั่น การฟิตร่างกาย รักษาสภาพร่างกาย ซึ่งของแต่ละคนจะมีการซ้อมไม่เหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ ต้องมีการซ้อมขึ้นเนินเขา และแต่ละคนต้องมีการวางแผนการปั่นด้วยตัวเอง ลักษณะเส้นทางจะเป็นเนินเขาชันปั่นขึ้นยาวสลับเนินเขาลาดลงยาว การจัดการน้ำหนักที่ต้องพกพาพร้อมจักรยาน การวางแผนเรื่องเสื้อผ้าที่กันหนาว
อุปสรรคที่เจอระหว่างการแข่งขัน ?
1. อันดับแรกของทุกคนส่วนมากจะเป็นเรื่องสภาพภูมิอากาศที่หนาวของยุโรปซึ่งไม่เหมือนอากาศหนาวในไทย มีการวางแผนผิดเพราะควรจะมีการ start ตอนกลางวันเนื่องจากตอนกลางคืนหนาวมากสำหรับนักปั่นไทย
2. ความโหดของเส้นทางการปั่นที่เป็นเนินเขาชันมากสำหรับคนไทย
3. อาหาร เนื่องจากขนมปังไม่ถูกปากคนไทยเลย
4. น้ำหนักสัมภาระที่ติดตัวไป เช่น อาหาร น้ำ อุปกรณ์จักรยานที่แบกมามากและหนักเกินไป ทำให้เป็นการถ่วงการปั่น
5. มีการง่วงด้วยแต่ทุกคนก็พักเพื่อความปลอดภัย
สุดท้ายก็เพราะใจล้วนๆ ที่ทำให้ทุกคนฟันผ่าอุปสรรคมาได้ หากมีประสบการณ์ศึกษาเส้นทางพร้อมกฎกติกาอาจจะทำให้คนไทยจบสนาม 1,200 กม. ได้มากกว่านี้แน่นอน
สิ่งที่ต้องเตรียมจากประสบการณ์ครั้งนี้เพื่อวางแผนในครั้งต่อไป
1. วิทยาศาสตร์การกีฬา จะสำคัญมากสำหรับนักกีฬา คือการเตรียมความพร้อมของร่างกาย อุปกรณ์ให้รับสภาพอากาศ อุณหภูมิ การฟิตร่างกาย
2. รถเซอร์วิสติดตามนักกีฬา ซึ่งจะช่วยนักกีฬาในขณะที่เจอปัญหาได้
3. เตรียมพร้อมอาหารสำหรับนักปั่นทางไกลระดับโลก เช่น อาหารตามวิทยาศาสตร์การกีฬาแนะนำ อาหารที่มีน้ำหนักเบา เป็นต้น
4. การศีกษากฎกติกา เส้นทางการปั่นจักรยาน เพื่อเตรียมวางแผนด้านพละกำลังในการปั่นอย่างต่อเนื่อง
5. การฝึกซ้อมปั่นควรฝึกในที่อากาศเย็น จะได้คุ้นชินกับการปั่นจักรยานทางไกลในอุณหภูมิต่ำ แต่เมืองไทยเป็นเมืองร้อน หาอากาศหนาวยาว
6. น้ำหนักที่พกติดตัวไป มีข้อเสนอแนะของอุปกรณ์ในการพกอุปกรณ์ไป ได้แก่ ขวดน้ำ 2-3 ขวด, ไฟด้านหน้าและไฟท้าย (ไฟกระพริบเป็นสิ่งต้องห้าม), หลอดไฟอุปกรณ์เสริม (จนกว่าคุณจะมีไฟ LED), 1 ชุดซ่อมเจาะ, 1 เสื้อกั๊กสะท้อนแสง, 1 เสื้อกันลมกันน้ำ, 1-2 คู่อะไหล่ของถุงเท้า, 1 อะไหล่สั้น, 1 คู่ถุงมือยาว, 1 คู่แขน, 1 หมวกที่เหมาะกับภายใต้หมวกกันน็อก, กระดาษชำระ, สก็อตเทป (การแก้ไขรายการหลวมหรือหัก) และ มือจับและ/หรือกระเป๋าด้านหลังที่เก็บสิ่งที่ต้องการ แต่ทั้งหมดนี้หากคิดว่าสิ่งใดไม่ได้ใช้ก็ไม่ต้องพกก็ได้ จะได้ลดน้ำหนักลงไปอีก
6. ยารักษาโรค ควรพกติดตั้งไปด้วย
7. เงินยูโร สำหรับหากมีเจ็บไข้ได้ป่วยหรืออุบัติเหตุต้องเข้ารักษาตัว
8. ฝึกภาษาฝรั่งเศสที่จำเป็นไปบ้าง ครั้งนี้นักกีฬาบอกว่าได้มา 2 คำ คือ Bonjour สวัสดี และ Merci ขอบคุณ
9. จักรยานคู่ใจ ห้ามพลาดเลย ต้องตรวจสภาพการใช้งานให้พร้อมที่สุด พร้อมชุดปั่น หมวก
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นครั้งนี้นักกีฬาทุกคนได้ประสบการณ์ ได้ความอดทน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพิ่มกลับมา
L182 นอ. ณรงค์ วัฒนะเสน อายุ 61 ปี ที่ลงระดับ 90 ชม. แล้วเข้ามาในเวลา 88.05 Hrs.
หลายคนบอกว่ามาปั่นจักรยานทางไกลแบบ Audax ต้องใช้ ใจ ก็พอ แต่จริงแล้วต้องมีสติ ใจเย็น สู้สุดใจ สู้กับตัวเองด้วย ซึ่งงานนี้นักกีฬากลุ่มนี้น่านับถือมาก กลายเป็น 15 ยอดมนุษย์ที่จบสนาม 1,200 กม. ทุกคนใจเกินร้อยทั้งนั้น
สำหรับเรารู้สึกประทับใจ L182 นอ. ณรงค์ วัฒนะเสน อายุ 61 ปี ที่ลงระดับ 90 ชม. แล้วเข้ามาในเวลา 88.05 Hrs. มากเลยขอสัมภาษณ์พิเศษ ถือเป็นอย่างที่ดีของนักสู้กับเส้นทางโหด PBP 1,200 กม. โดย นอ. ณรงค์ อยากพิสูจน์ให้คนรุ่นใหม่เห็นว่าอายุเป็นเพียงตัวเลขเท่านั้น ไม่ว่าใครก็ตาม หากมีความมุ่งมั่น คิดจะทำ ต้องทำได้ ผ่านอุปสรรคด้วยใจสู้ เพราะแค่เริ่มปั่น 144 กม. แรก ก็รู้สึกปวดเข่ามาก เจอเส้นทางขึ้นเขาชัน โหดมากไม่มีเวลาพักขาเลย แถมเจอสภาพอากาศหนาวในการปั่นตอนกลางคืน วันสุดท้ายเหลือแค่ 2 checkpoint เท่านั้นเกิดยางรั่ว เกือบถอดใจแล้วแต่สามารถตั้งสติได้ ค่อยๆ เอาอุปกรณ์มาเปลี่ยนยาง ปั่นต่อ มีหลงไป 10 กม. ด้วย แต่สวมหัวใจสิงห์ของคนไทย เร่งปั่นทำเวลาจนเข้าเส้นชัยในเวลาที่กำหนดได้ รู้สึกภูมิใจมากต่อสู้กับใจของตัวเองได้และทำได้ในนามประเทศไทย
ขอบคุณภาพบรรยากาศบางส่วนในงาน PBP Paris-Brest-Paris Randonneur 2015 จาก : Yutthana Black Subkhet และ เรืองชัย จูฑะพงศ์ธรรม
ขอขอบคุณนักกีฬา PBP Paris-Brest-Paris นักปั่นแรลลี่จักรยานทางไกลระดับโลก ทั้ง 11 คน ที่มาเปิดใจให้พวกเราและนักปั่นคนไทย ได้สร้างพลังใจ จุดฝัน จุดแรงบันดาลใจในการสู้กับตัวเอง โอกาสมาถ้าไม่พร้อมก็ไร้ค่าเพราะเราต้องพร้อมทั้งการเตรียมตัวก่อนไปแข่ง การวางแผนสำหรับการปั่นทางไกลระดับโลก พร้อมรับอากาศหนาวเย็นกับบรรยากาศการปั่นในฝรั่งเศส พร้อมเรียนภาษาฝรั่งเศสไปบ้าง พร้อมนำอุปสรรคประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ มาใช้ปรับปรุงให้นักปั่นรุ่นต่อไปของวงการจักรยานไทยนำไปต่อยอดเพื่อไปปั่น LEL London-Edinburgh-London ระยะทาง 1,400 กม. ปี 2017 ประเทศอังกฤษ รายการต่อไปก่อนจะถึง PBP ปี 2019 เพราะคนไทยหากตั้งใจทำก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก