Social Enterprise ในไทย ดีที่สุด คือการให้ไม่สิ้นสุด
Social Enterprise ในไทย ดีที่สุด คือการให้ไม่สิ้นสุด เพื่อสังคมน่าอยู่ กลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจติดตามมาก จะว่าไปแล้วสังคมไทยของเราเมื่อครั้งอดีตมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือ แบ่งปันแบบ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปมาก เริ่มมีการเห็นแก่ตัวกันมากขึ้น แต่ก็มีบางกลุ่มได้รวมตัวกันมีความคิดสร้างสรรค์สู่การเปลี่ยนแปลงสังคมในการพัฒนาตนเองและต้องการโอกาสที่มั่นคงเพื่อสร้างศักยภาพของสังคม สร้างคน สร้างรายได้ มีแต่สิ่งดีให้สังคม อยากให้สังคมน่าอยู่แต่ไม่รู้ทำอย่างไร ได้เวลาลงมือทำเพื่อสังคมน่าอยู่และเพื่อประเทศชาติของเรากันค่ะ
การดำเนินงานเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง Social Enterprise จึงเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ มีหลายโครงการเลยที่ น่าสนใจ แล้วก็ไปสะดุดกับโครงการเป็นองค์กรที่ทำกิจการเพื่อสังคมชื่อว่า Kickstart (เดิมชื่อ ApproTEC) ของประเทศเคนย่าแล้วน่าทึ่งและชื่นชมมาก
โดย Nick Moon และ Martin Fisher ชาวไนโรบี ประเทศเคนย่า เป็นผู้ก่อตั้ง KickStart ขึ้นมาเพื่อต่อต้านกระแสที่ว่าคนยากจนต้องนั่งแบมือรอขอรับบริจาคอย่างเดียว พวกเขาเชื่อว่าคนยากจนต้องการพัฒนาตนเองและต้องการโอกาสที่มั่นคงเพื่อสร้างศักยภาพการเป็นผู้ประกอบการแก่พวกเขา
Kickstart ได้ทำการออกแบบและผลิตเทคโนโลยีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย ที่ช่วยคนให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบการจ่ายน้ำขนาดเล็กที่ควบคุมได้ด้วยมือ สิ่งนั้นคือ KickStart MoneyMaker Pump ปั๊มน้ำและระบบการจ่ายน้ำขนาดเล็กที่ควบคุมได้ด้วยมือ แล้วนำมาขายในราคาถูกให้แก่ผู้ประกอบการขนาดเล็กในแถบแอฟริกา ทั้งในเคนย่า มาลี และแทนซาเนีย ที่เคยประสบปัญหาทางการเกษตรและความยากจน เพื่อให้พวกเขาได้เปิดกิจการของตัวเอง เพิ่มผลผลิต สร้างรายได้มากขึ้น และที่สำคัญคือหลีกหนีจากความยากจนมาได้อย่างยั่งยืนและภาคภูมิ ผลคือปั๊มของพวกเขาช่วยสร้างรายได้ให้คนจนเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า คนจนกว่า 440,000 คนที่ใช้ปั๊มในการทำอาชีพสามารถหนีความจนได้ และทำให้เกิดธุรกิจขนาดเล็กใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นมากว่า 87,000 ราย
และยังมีเครื่องบดเมล็ดทานตะวันและงา โดยทางบริษัทขายสินค้าเทคโนโลยีเหล่านี้ให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นในราคาถูก เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและสามารถเปิดกิจการเล็กๆ ของตัวเองได้
สำหรับ Singha Park A Social Enterprise เป็นกิจการเพื่อสังคมในเมืองไทย แบบอย่างความสุขที่มากกว่าแหล่งท่องเที่ยว ได้ทำโครงการทดลองการเกษตร แล้วเผยแพร่ความรู้ส่งเสริมชาวบ้านในเกษตรกรในพื้นที่ให้มีความรู้และศักยภาพในการปลูกพืชผักผลไม้ สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับท้องถิ่น มีผลผลิตแห่งความสุขเกิดขึ้นเยอะมาก โดยสิงห์มีเป้าหมายคือการให้ ให้กับชุมชนในท้องถิ่นให้ชุมชนมีโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากกลุ่มสิงห์ของความสำเร็จของธุรกิจ
สิงห์ปาร์ค เชียงราย มีแหล่งเพาะปลูกชาพันธุ์ดีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผลิตชาภายใต้แบรนด์ มารุเซ็น ผลิตชาเขียวญี่ปุ่นส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก นับว่าเป็นพื้นที่เพาะปลูกและผลิตชาเขียวญี่ปุ่นนอกประเทศญี่ปุ่นแปลงแรก ซึ่งได้ผลผลิตที่ดีเทียบเท่าผลผลิตในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงมีการท่องเที่ยวในไร่ชามีทัศนียภาพสวยสดงดงามท่ามกลางบรรยากาศขุนเขา
อาณาจักร Social Enterprise ยังไม่หยุดแค่นี้ สิงห์ปาร์ค เชียงราย ได้เปิดตัวโครงการทดลองที่มีแต่การให้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะ วิจัยเรื่องพิชเมืองหนาว การเติบโตบลูเบอร์รี่, สตรอว์เบอร์รี่, ราสเบอร์รี่, พริกฮาบาเนโร, มะเขือเทศ, เห็ด, ยางพารา และพืชผักผลไม้หลากหลายอย่าง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainability
และยังมีการจัดงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Farm Festival on the Hill และล่าสุด Singha Park International Balloon Fiesta โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ในการเข้าชมเพื่อคืนกำไรให้กับประชาชน เป็นการสร้างโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่น Local community คนในท้องถิ่นได้มีงานทำ เพราะรายได้เหล่านี้ไม่ได้กลับไปเป็นกำไรของผู้ถือหุ้นแต่หมุนเวียนกลับมาสร้างงานต่อไป
แม้กระทั่งรัฐบาลก็มีนโยบายสนับสนุนให้คนเป็นศูนย์กลาง People centered “การนำ Social Business เข้ามาด้วย เป็นส่วนหนึ่งของ Social Enterprise ซึ่งเอกชนทำธุรกิจขนาดใหญ่อยู่แล้ว ถ้าเราทำให้ภาคประชาชนแข็งแรง โดยเสริมระบบ Social Business เข้าไป ” ขอบคุณข้อมูลสารสนเทศ ประเทศไทย อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://goo.gl/hcWPuX นะคะ
Social Enterprise ในไทยพูดได้เลยว่าโครงการ Singha Park A Social Enterprise เป็นตัวอย่าง Social Enterprises Thailand อย่างสมบูรณ์แบบในด้านส่งเสริมการเกษตรและท่องเที่ยวครบวงจร เล่ามาซะยาวเลยค่ะ พอได้พูดถึงจะรู้สึกมีความสุขที่ได้รับจากที่นี่ ท้ายที่สุด สิ่งที่สำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใด คือ ดีที่สุด คือการให้ไม่สิ้นสุด รอยยิ้มแห่งความสุขของชาวเชียงรายในพื้นที่ที่ได้รับโอกาสจากโครงการนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จ ทั้งผู้ที่ได้ไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ เชื่อไหมว่าไม่ใช่แค่ความสนุกสนานที่ได้รับกลับไป แต่รวมถึงความสุขของคนที่ได้ทำงานด้วย จึงถือว่าเป็นความสุขต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable development อย่างไม่มีวันสิ้นสุดนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูล kickstart จาก
http://www.tseo.or.th/sepresent/1385